คำกริยาสะท้อนกลับ (Reflexivverb) เป็นคำกริยาที่มาควบคู่กับคำสรรพนามสะท้อนกลับ (Reflexivpronomen) เช่น sich เสมอ
คำกริยาสะท้อนกลับแบบแท้ (Reflexivverb) แสดงให้เห็นว่า กรรมของประโยคเป็นผู้ถูกกระทำ และคำสรรพนามสะท้อนกลับนั้นไม่สามารถถูกแทนที่ด้วยคำอื่น
Beispiel:
- sich auskennen – Ich kenne mich nicht aus.
- sich verlaufen – Ich hatte mich verlaufen.
ส่วนถ้าคำกริยาสะท้อนกลับแบบไม่แท้ (teilreflexiven Verben) นั้น เราเราสามารถใช้ผูกประโยคโดยมี หรือไม่มีคำสรรพนามสะท้อนกลับก็ได้ ถ้าไม่ใช้คำสรรพนามสะท้อนกลับคำกริยาจะพูดถึงการกระทำของประธานในประโยค
Beispiel:
- sich ärgern – Ich ärgerte mich über meinen Fehler. (สะท้อนกลับ)
- jemanden ärgern – Er ärgert gern seine Schwester. (ไม่สะท้อนกลับ)
- sich aufhalten – Wir halten uns gerade in München auf. (สะท้อนกลับ)
- jemanden aufhalten – Ich will Sie nicht aufhalten. (ไม่สะท้อนกลับ)
- sich ausziehen – Ich habe mich ausgezogen. (สะท้อนกลับ)
- ausziehen – Ich bin aus dem Haus meiner Eltern ausgezogen. (ไม่สะท้อนกลับ)
- sich auf jemanden verlassen – Ich verlasse mich auf dich. (สะท้อนกลับ)
- jemanden verlassen – Sie hat ihren Freund verlassen. (ไม่สะท้อนกลับ)
.
Deklination von Reflexivverben
เมี่อนำคำกริยาสะท้อนกลับมาใช้ในประโยค เราต้องผันกริยาและใช้สรรพนามตามประธานของประโยค คำสรรพนามสะท้อนกลับในบุรุษที่หนึ่งและที่สอง ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์ จะเหมือนกันคำสรรพนามในรูปแบบกรรมตรง (Personalpronomen im Akkusativ) แต่สรรพนามสะท้อนในบุคคลที่สาม เอกพจน์และพหูพจน์ จะไม่แยกแยะ เป็น er, sie, es และ Sie นะค่ะ
.
Satzbau mit Reflexivverben
คำกริยาสะท้อนกลับ (Reflexivverb) จะอยู่ในตำแหน่งของกรรม
ถ้าเป็นประโยคบอกเล่า (Aussagesatz) และ คำถามที่มีตัวตั้งคำถาม (W-Fragesatz) คำกริยาที่ผันแล้วก็จะอยู่ในตำแหน่งที่สอง ส่วนคำสรรพนามสะท้อนกลับจะตามหลังคำกริยา
ถ้าเป็นคำถามใช่หรือไม่ (Ja-Nein-Fragesatz) คำกริยาที่ผันแล้วอยู่ในตำแหน่งแรก และคำสรรพนามสะท้อนกลับจะกลายเป็นคำที่สอง (หากกรรมเป็นคำนาม) หรืออยู่ในตำแหน่งที่สาม (หากกรรมเป็นสรรพนาม)
.
Reflexivverben nach Kasus und Zeitformen
Zeitform | Reflexivpronomen im Akkusativ |
Reflexivpronomen im Dativ |
---|---|---|
Präsens | Ich ärgere mich. | Ich kaufe mir ein Eis. |
Perfekt | Du habe dich geärgert. | Du hast dir ein Eis gekauft. |
Präteritum | Er ärgerte sich. | Er kaufte sich ein Eis. |
Plusquamperfekt | Wir hatten uns geärgert. | Wir hatten uns ein Eis gekauft. |
Futur I | Ihr werdet euch ärgern. | Ihr werdet euch ein Eis kaufen. |
Futur II | Sie werden sich geärgert haben. | Sie werden sich ein Eis gekauft haben. |
คำกริยาสะท้อนกลับส่วนใหญ่กำหนดให้เราต้องใช้คำสรรพนามสะท้อนกลับในรูปแบบกรรมตรง (Reflexivpronomen im Akkusativ) แต่ถ้าประโยคมีมากว่าหนึ่งกรรม เราต้องนำ คำสรรพนามสะท้อนกลับในรูปแบบกรรมรอง (Reflexivpronomen im Dativ) มาใช้
.
Liste der reflexiven und teilreflexiven Verben
และท้ายสุดก็รวบรวมคำกริยาสะท้อนกลับแบบแท้และส่วนถ้าคำกริยาสะท้อนกลับแบบไม่แท้ที่สำคัญ ๆ ในตารางมาให้ค่ะ