คำบุรุษสรรพนาม (Personalpronomen) คือ สรรพนามที่ใช้แทนชื่อบุคคล ทั้งผู้พูด ผู้ฟัง หรือผู้ที่เรากล่าวถึง อาจเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้
บุรุษสรรพนาม (Personalpronomen) นั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- บุรุษสรรพนามเอกพจน์ที่ 1 ich หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น ฉัน ดิฉัน ผม
- บุรุษสรรพนามพหูพจน์ ที่ 1 wir หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูด เช่น พวกเรา
บุรุษสรรพนามที่ 1 เรานำมาใช้เมื่อเราพูดถึงตัวเอง เช่น
- Ich gehe nach Hause. (ฉันจะกลับบ้าน) – Mir ist kalt. (ฉันหนาว)
- Wir machen immer unsere Hausaufgaben. (เราทำการบ้านเสมอ) – Das ist uns wichtig. (นี่คือสิ่งสำคัญสำหรับเรา)
.
- บุรุษสรรพนามเอกพจน์ที่ 2 du หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง เช่น เธอ
- บุรุษสรรพนามพหูพจน์ ที่ 2 ihr หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง เช่น พวกเธอ
บุรุษสรรพนามที่ 2 เรานำมาใช้ เมื่อเราพูดกับใครบางคน du และ ihr เป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการและ Sie เป็นรูปแบบที่สุภาพ สอดคล้องกับพหูพจน์บุคคลที่ 3 แต่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
- Duwirst heute dein Zimmer aufräumen. (วันนี้เธอจะทำความสะอาดห้องของเธอ) – Ich werde dir helfen. (ฉันจะช่วยเธอ)
- Habt ihr eure Deutsch-Hausaufgaben schon gemacht? (พวกเธอทำการบ้านภาษาเยอรมันเรียบร้อยแล้วหรือยัง) – Was war besonders schwer für euch? (อะไรที่ยากเป็นพิเศษสำหรับพวกเธอ)
- Können Sie mir bitte helfen? (คุณช่วยฉันได้ไหม) – Ja, natürlich kann ich Ihnen helfen. (แน่นอนฉันช่วยคุณได้)
.
- บุรุษสรรพนามเอกพจน์ที่ 3 er, sie, es หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น เขา หลอน มัน
- บุรุษสรรพนามพหูพจน์ ที่ 3 sie หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น พวกเขา พวกหลอน พวกมัน
บุรุษสรรพนามที่ 2 เรานำมาใช้ เมื่อเราพูดถึงคนอื่นหรือสิ่งของ โดยปกติจะมีการกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้มาแล้ว หรือเป็นที่ชัดเจนว่าคุณกำลังพูดถึงใคร
Marcel ist in Luisa verliebt. (มาร์เซลรักลุยซ่า) – Er geht heute mit ihr ins Kino. (วันนี้เขาจะไปดูหนังกับหล่อน)
.
Personalpronomen
- du ใช้ในการสนทนากับเพื่อน ครอบครัว และในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ
- Sie ใช้ในการสนทนากับเจ้านาย กับคนแปลกหน้า และโดยทั่วไปในสถานการณ์ที่เป็นทางการ)
.
Deklination der Personalpronomen
คำบุรุษสรรพนามเปลี่ยนแปลงตามบุคคล (Genus) จำนวน (Numerus) และการก (Kasus)
- Das ist Thomas.
- Er spielt gerne Fußball. (เขาชอบเล่นฟุตบอล)
- Ich mag ihn. (ฉันชอบเขา)
- Ich gebe ihm einen Ball. (ฉันมอบบอลให้เขา)
.
Satzbau
- ถ้าหนึ่งในสองกรรม (Objekt) เป็นคำสรรพนามและอีกคำหนึ่งเป็นคำนาม คำสรรพนามจะนำหน้าคำนาม เช่น
- Kathrin schenkt ihm ein Fahrrad.
- ถ้าทั้งสองกรรม (Objekt) เป็นคำสรรพนาม กรรมตรงมาก่อนกรรมรอง
- Kathrin schenkt es ihm.
.