Posted in Niveau A2, Niveau B1, Niveau B2, Niveau C1 / C2

Relativpronomen

Relativsatz 1

คำสรรพนามสัมพัทธ์มักใช้เพื่อจุดประสงค์ในโวหาร ช่วยขจัดความซ้ำซ้อน (ของคำนาม) และเชื่อมต่อความคิดได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

  • คำสรรพนามสัมพัทธ์ (Relativpronomen) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนคำนาม ซึ่งกล่าวถึงมาก่อน และทำหน้าที่เชื่อมประโยคเข้าด้วยกัน คล้ายสันธานแบบรอง (Subjunktion)
  • ใช้เชื่อมอนุประโยค (Relativsatz) ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบุคคลหรือสิ่งของ คล้ายคุณศัพท์ (Adjektiv)

.

Deklination der Relativpronomen

สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยคจะต้องสอดคล้องกับคำนามที่ขยาย

  • เพศ (Genus) และจำนวน (Numerus) ของคำสรรพนามสัมพัทธ์จึงถูกกำหนดโดยคำนามในประโยคหลัก (Hauptsatz) ที่อนุประโยคให้ข้อมูลเพิ่มเติม
  • แต่การก (Kasus) ของคำสรรพนามสัมพัทธ์ขึ้นอยู่กับหน้าที่ของคำสรรพนามในอนุประโยค 

Relativpronomen 2

Beispiel:

Das ist Frau Huber, die letzte Woche ein neues Auto gekauft hat. (Nominativ)

Das ist Herr Huber, den ich nur selten sehe. (Akkusativ)

Das sind Herr und Frau Huber, denen jetzt auch das Restaurant am Markplatz gehört. (Dativ)

Das ist Familie Huber, deren Sohn immer auf der Straße spielen. (Genitiv)

หมายเหตุ เราสามารถแทนคำสรรพนามสัมพัทธ์ด้วยคำว่า welch- มันจะทำให้ประโยคนั้นฟังดูเป็นทางการมากขึ้น เราจึงไม่ค่อยใช้ในภาษาพูด

ระวัง อย่าไปสลับคำสรรพนามสัมพัทธ์ (Relativpronomen) กับคำสรรพนามคำถาม (Fragepronomen)

Beispiel:

Fragepronomen: Welcher Pullover gefällt dir besser, der rote oder der grüne?

Relativpronomen: Der Pullover, welcher mir so gut gefällt, ist grün.

.

Relativpronomen nach einer Präposition

ถ้าในอนุประโยคคำสรรพนามสัมพัทธ์ตามหลังคำบุพบท คำบุพบทจะกำหนดกรรม (Kasus) ของคำสรรพนามสัมพัทธ์

Beispiel:

Das ist Frau Huber, auf die ich gestern den ganzen Tag gewartet habe. (Akkusativ)

Das ist Herr Huber, mit dem ich letztes Wochenende Karten gespielt habe. (Dativ)

ระวัง ในกรณีที่คำสรรพนามสัมพันธ์ตามหลังคำบุพบท แต่ทำหน้าที่เป็นเจ้าของ (Genus) คำบุพบทจะไม่กำหนดกรรม (Kasus) ของคำสรรพนามสัมพันธ์

Beispiel:

Das ist Frau Huber, für deren Kühlschrank ich mich interessiere. (Genitiv)

Das ist Herr Huber, von dessen Familie ich dir ein bisschen erzählt habe. (Genitiv)

.

Relativpronomen: WO und WAS

หากสิ่งที่เรากล่าวถึงอยู่ เป็นสถานที่ เราสามารถใช้คำว่า wo แทนคำสรรพนามสัมพันธ์ในการเชื่อมประโยค

Beispiel:

Ich gehe zur Schule, in der ich jeden Tag Deutsch lerne.

oder

Ich gehe zur Schule, wo ich jeden Tag Deutsch lerne.

หากสิ่งที่เรากล่าวถึงอยู่ เป็นคำสรรพนามที่ไม่ระบุรายละเอียด (Indefinitpronomen) เราต้องใช้คำว่า was เป็นคำสรรพนามสัมพันธ์ในการเชื่อมประโยค

Beispiel:

Da gibt es so einiges, was ich nicht verstehe.

Alles, was sie mir erzählt hat, war falsch.

.

Übungen

ผู้เขียน:

ใส่ความเห็น